วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552
การปรับเสียงไมโครโฟนสำหรับงานพิธีการ
1. ให้ตั้งไมค์เยื้องไปด้านหลังลำโพงพอสมควร
2. ให้ตั้งลำโพงห่างกันพอสมควร ( ไม่มากจนเกิดเสียงเบาตรงกลางระหว่างลำโพง ท้ง 2 ตู้ )
3. ควรใช้ไมค์คูณภาพสูง เช่น sm58 ของแท้ และถ้าใช้หลายตัวควรเป็นยีห้อและรุ่นเดียวกัน
4.ในระบบเครื่องเสียงจะต้องมี eq ชนิด15band/ข้างเป็นอย่างน้อย เพื่อควบคุมโทนเสียงของระบบทั้งหมด อย่างน้อย 1 เครื่อง
5. เปิดเครื่องตามปกติ
6. ปรับeq ไว้ตรงกลาง
7. ให้ปรับ ปุ่ม ทุ้ม กลาง แหลม ที่หน้ามิกซ์ (ช่องที่เสียบไมค์ ) ไว้ตรงกลาง และถ้าเครื่องมิกซ์มีeq ก็ให้ปรับไว้ที่ตรงกลางเช่นกัน ( flat )
8.สมมติว่ามีไมค์กล่าวราย 1 ตัว และประธาน 1 ตัว อันดับแรกให้ปรับไมค์กล่าวรายงานก่อน เพราะส่วนใหญ่จะใกล้ลำโพงมากที่สุด โดยการให้ใครที่คุ้นกับเสียงของเขาเป็นผู้พูดทดสอบ โดยให้ปากห่างจากไมค์ประมาณเกือบฟุต จากนั้นให้พูดเสียงปกติไม่ดังมาก หรือกระแทกเสียงเหมือนการทดสอบเสียงแบบเล่นดนตรีทั่วไป ให้เลื่อนปุ่ม master ของช่องไมค์ไว้ประมาณ 0 จากนั้นให้ค่อยๆปรับปุ่ม gain ขึ้นทีละนิดโดยสังเกตุว่าเสียงดังพอหรือยังถ้ายังให้เร่งขึ้นเรื่อยๆจนเกิดการหอน ถึงตอนนี้สำคัญให้สองมือแบ่งหน้าที่กัน โดยมือซ้ายจับปุ่ม gain ไว้ ส่วนมืออีกข้างเอาไว้ปรับ eq โดยการปรับควบคู่กันไป เสียงหอนดังหึ่งให้ปรับไล่หาตั้งแตย่าน 150 Hz ลงไป ข้อควรระวังอย่าให้หอนนานเกินไปอาจเป็นอันตรายกับลำโพงได้โดยเฉพาะย่านเสียงแหลม ให้หมุนปุ่ม gain ลด - เพิ่มตามความเหมาะสม ให้ปรับหาความถี่ที่หอนจนหาย จากนั้นให้ปรับ gain ขึ้นไปอีกจะมีเสียงหอนอีกแต่จะเป็นความถี่ใหม่ เช่น เสียงโว๊ง ให้ปรับย่านเสียงกลางประมาณ 1k ลงไป ถ้าเสียงโว๊งหายไป เสียงวิ๊งตามมา ให้ปรับย่านเสียงแหลมประมาณ 3k ขึ้นไป ถ้ายังฟังไม่ออกให้ใล่ยกความถี่แต่ละช่องถ้าตรงกันเสียงหอนยิ่งดังขึ้นจากนั้นให้กดเสียงลงจนหายหอน แต่อย่ากดลงมากจนโทนเสียงเสียไป หรือใช้วิธีไล่ลงกดลงทีละความถี่ก็ได้ หมายเหตุ * การปรับแบบนี้จะยังไม่คำนึงการคลิปของสัญญาณขณะพูดใกล้ จุดประสงค์ต้องการเพิ่มความไวให้กับไมค์เผื่อผู้กล่าวรายยืนห่างจากไมค์มาก แต่ถ้าได้ผู้ที่จะกล่าวรายมาทดสอบจริงก็ยิ่งดีมาก แต่ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าเป็นใครหรือไม่สะดวกในการมาทดสอบ เมื่อปรับเข้าที่แล้วให้ปรับลด MASTER ของไมค์กล่าวรายรายงานลง เสร็จจากไมค์กล่าวรายงานก็เป็นเรื่องไมค์ประธานบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ไมค์ประธานจะติดตั้งตรงกลางระหว่างลำโพงหรือบนเวทีโอกาศหอนน้อยกว่าไมค์กล่าวรายงาน การปรับก็เช่นเดียวกันกับไมค์กล่าวรายงานที่แทบจะไม่ต้องปรับอะไรเท่าไหร่เพราะถ้าเป็นไมค์ยี่ห้อและรุ่นเดียวกัน อ้อลืมไปถ้าบนเวทีมีลำโพงมอนิเตอร์ควรปรับแต่งก่อนนะครับถ้าไม่จำเป็นไม่ควรใช้เป็นย่างยิ่งนอกจากผู้ใช้เกิดความชำนาญในการใช้แล้วเท่านั้น
วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
เทคนิคการตรวจเช็คโทรทัศน์สีระบบดิจิตอล
ภาคจ่ายไฟทำงานหรือไม่ ดูจากอะไร
หลักความเป็นจริง
ระบบการทำงานของ MPU ปกติ หลอดแสดงผลที่หน้าปัดเครื่อง เวลาเปิดเครื่องรับหลอดแสดงผลต้องติดอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่ถ้าหลอด LED ติดแสดงว่าภาคจ่ายไฟปกติ
ขั้นตอนการซ่อม
1. ภาคจ่ายไฟต้องเริ่มต้นทำงานได้ก่อน
2. ภาคจ่ายไฟจ่ายแรงดัน +5V ไปเลี้ยง MPU ก่อน
3. เมื่อ MPU ทำงาน จะจ่ายแรงดันการผลิตความถี่ H-OSC. ให้กับหลอดภาพ และส่วนต่าง ๆทำงานได้
กรณีหลอดแสดงผลไม่ติดจะทำอย่างไร
สาเหตุจากการวิเคราะห์
1. ไม่มีไฟเลี้ยง MPU
2. MPU ถูกตัดออกจากระบบ
ขั้นตอนในการตรวจเช็ค
1. เช็คโหลดของวงจร (Load) หรือโหลดภาคจ่ายไฟ ประกอบ ด้วย ไฟเลี้ยงภาคเสียง , ไฟเลี้ยงวงจรต่าง ๆ , H-OUT
2. เช็คที่ H-OUT เช็คที่ตำแหน่งขา C ของ HOR
3. นำสายมิเตอร์มาวัดรอที่ขา C ของ HOR ก่อนเปิดเครื่อง ถ้ามี แรงไฟเกิดขึ้นแล้วตกลง แสดงว่าภาคจ่ายไฟทำงานปกติแล้ว แต่...
4.แต่ถ้าวัดแรงไฟแล้วไม่มี ให้กลับไปดูต้นทางของ +B ให้เช็คแรงดันที่ ไดโอด เรคติไฟล์ ถ้าแรงไฟมีแต่ HOR ไม่ทำงาน เช็ควงจรข้างเคียง
เช่น resister ต่าง ๆ